วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

PLC คืออะไร


                                                                         PLC คืออะไร



 Programmable Logic Controller หรือ PLC คือ อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมชนิดหนึ่ง ที่สามารถโปรแกรมการควบคุมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้โดยมีหน่วยความจำในการเก็บโปรแกรม สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อเข้ากับขั้วเข้าและออกของ PLC ซึ่ง การคิดค้นPlc ขึ้นมาเพื่อใช้แทน วงจรควบคุมไฟฟ้าแบบรีเรย์ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งวงจรรีเรย์มีความยุ่งยากในการออกแบบ และกินเนื้อที่ในการติดตั้งมากเกินไป ซึ่ง plc สามารถลดและแก้ปัญหานั้นได้ทั้งหมด ปัจจุบัน plc มีรุ่นใหม่ๆ ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายมากมาย หากทางโรงงานอุตสาหกรรม หรือบริษัทใดต้องการสอบถาม ราคา หรือข้อมูลเกี่ยวกับ plc สอบถาม ฟาร์อีส อินเตอร์ ซัพพลาย ผู้นำเข้า จำหน่าย plc mitsubishi, plc siemens, plc omron และยี่ห้ออื่นมากมาย
PLC คืออะไรProgrammable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
 ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้งจนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น
ประวัติ PLC
ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ควาสามารถในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรกคือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่านทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)
โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC
ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย

1.ตัวประมวลผล(CPU)
          ทำหน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท

2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
          ทำหน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLCประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
          RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมอยู่บ่อยๆ
          ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน

3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)
หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป
        หน่วยเอาต์พุต ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น
 
 

.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
          ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับ CPU Unit หน่วยความจำและหน่วยอินพุท/ เอาท์พุท
5.อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices)
          • PROGRAMMING CONSOLE
          • EPROM WRITER
          • PRINTER
          • GRAPHIC PROGRAMMING
          • CRT MONITOR
          • HANDHELD
          • etc

PLC ทำ งานอย่างไร
                                                    



                 กระบวนการทำงานของ   DEMO of PLC DISPLAY for DELTA PLC  

                                                                          


วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เครื่องจักร NC


เครื่องจักร  NC




คำบรรยาย
        เครื่องดัดเหล็กเส้นเป็นสินค้าชนิดใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมสูงมาก ใช้ดัดเหล็กปลอกเสา และเหล็กเส้นเล็ก แทนประแจดัดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
- เหมาะสำหรับใช้่ดัดเหล็กเส้น ดัดเหล็กทำปลอกเสา เหล็กปลอกคานในงานก่อสร้าง สามารถดัดเหล็กได้สูงสุดถึง 180 องศา
- เครื่องดัดเหล็กปลอกเสา และเครื่องดัดเหล็กเส้น COPKO สามารถดัดเหล็กปลอกได้ครั้งละ 2 ปลอก
- ช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงานโดยใช้คนดัดเพียงคนเดียว และสามารถดัดเหล็กได้ถึงชั่วโมงละ 200 ปลอก
- สามารถดัดมุมของเหล็กเส้นให้เป็นมุมฉากได้เท่ากันตลอดทุกชิ้น โดยมี stopper เป็นตัวกำหนดมุม
- ลูกรีด (Roller) ของเครื่องดัดเหล็กทั้ง 2 รุ่น ทำจากเหล็กชุดแข็งคุณภาพสูง จึงมีอายุการใช้งานที่ยาว  นาน
- มีความรวดเร็ว และปลอดภัยมากกว่าการใช้ประแจดัดเหล็กที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
- สามารถยืดเหล็กให้ตรงได้ ม้วนเหล็กปลอกเสากลมได้ง่าย รวดเร็ว
- ใช้งานง่าย สะดวกสบายไม่เกะกะ เนื่องจากใช้ได้ทั้งบนโต้ะทำงานและบนพื้นดิน
- ราคาถูก และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน






วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกในห้อง

อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค    อาจารย์ผู้สอน
นางสาวมาซีเต๊าะ    หมิดเส็น    เต๊าะ
นางสาวยุวดี   โต๊ะเหล็ม    น้ำหวาน
นางสาวเพ็ญวิสา    แก้วชูเชิด    เพ็ญ
นางสาวหัสนี     หมาดหมีน     กะเต๋า
นายจักรพันธ์     พรหมเอียด     จักร
นางสาวอุไซมะห์     สาเลง     มา
นางสาวปิยะนุช   โพธิ์ถึง       นุช 
นางสาวโศจิรัตน์     ตุ้ยนะ     แป้ง  
นางสาวปวีณา   เคี่ยมขาว   แนน
นางสาวเกษศิรินทร์     ปิ่นทองพันธ์    อ้อม
นางสาวสุนิษา   หนูวงษ์     กวาง

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสาร

การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)
การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายประเภทหนึ่งที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระยะทางไกลและครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ส่งสัญญาณจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของโลก ก่อให้เกิดการสื่อสารได้อย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต แม้ในเขตพื้นที่ห่างไกล เช่น บริเวณหุบเขา มหาสมุทร โดยอาจเป็นสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณภาพ เสียง และการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นต้น
ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก คือ สถานีภาคพื้นดิน (Ground Segment) และสถานีอวกาศ (Space Segment) โดยที่สถานี ภาคพื้นดินประกอบด้วยสองสถานีคือ สถานีรับและสถานีส่ง ซึ่งการทำงานของทั้งสองสถานีนี้มีลักษณะคล้ายกัน
สถานีภาคพื้นดิน มีอุปกรณ์หลักอยู่ 4 ชนิดดังรายละเอียดต่อไปนี้
อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem)
มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem)
มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem)
ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
 อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator)
มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้

ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ
แบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเชีย และยุโรปบางส่วน (สมนึก ธัญญา วินิชกุล, 2549 : 10)
ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น
ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้อง ใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด
แบบ KU - Band จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณ ที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ (สมนึก ธัญญาวินิชกุล, 2549 : 11)
ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)
ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน





วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

นางสาวสุกัญญา  มันทโร               ชื่อเล่น  ฮ๊ะ

ที่อยู่  86/4 หมู่ที่ 6  ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา  90120 

สีที่ชอบ  สีขาว  สีฟ้า  สีเขียว 

อาหารจานโปรด   ทุกๆอย่างๆที่ทานได้ฮิๆๆ

สัตว์ที่เลี้ยงที่ชอบ   แมวพันรัฐเซีย    นกแพนกวิน

ความสามารถ  ไม่มี   แต่พอได้

งานอดิเรก   ดูหนังฟังเพลง    (นอนกับกิน)

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

รหัสนักศึกษา 5557051103

โทร 087-6247640


น่ารักจัง